สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับสถาบันวิจัยประชากรและสังคมม.มหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Happy Family คนทำงานมั่นคง องค์กรมั่งคั่ง สู้วิกฤติ โควิด-19 โดย ดร.ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต หัวหน้าโครงการHappy Family เผยถึงผลการสำรวจผลกระทบครอบครัวจากสถานการณ์โควิดมีกลุ่มตัวอย่าง 3,300 ราย จาก 63 องค์กร ในระยะเวลา1 เดือน ในสถานการณ์โควิด-19 พบว่าครอบครัวไทยมีความอักเสบทางเศรษฐกิจ ไม่มีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ ทำให้ความสงบสุขในครอบครัวไม่มีอย่างแท้จริง
ผลสำรวจเก็บข้อมูลใน 5 ภาคส่วน ทั้งองค์กรภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ บริษัทเอกชน เอสเอ็มอี และวิสาหกิจชุมชน โดยการสำรวจได้ใช้เครื่องมือเป็นแบบสอบถาม ที่ระบุเวลาที่ต้องทำงานและเวลาที่ต้องอยู่กับครอบครัว รายได้ของครอบครัว จากนั้นวินิจฉัยหาสมมุติฐานปัญหาของแต่ละครอบครัว โดยน้อมนำแนวพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9 เรื่องความมีเหตุมีผลเพื่อเป็นภูมิคุ้มกันให้กับครอบครัว
ปัจจุบันประชากรของประเทศมี 67 ล้าน 56 ล้านคนอายุ 15 ขึ้นอยู่ในวัยแรงงาน และประมาณ 31 ล้านคนมีงานทำ ขณะที่จำนวนครัวเรือนประมาณ 21 ล้านครัว แม้เป็นสถาบันที่เล็กสุดแต่มีความสำคัญ ดังนั้นสถานการณ์โควิดจะเป็นบททดสอบระหว่างผู้บริหารองค์กรและลูกจ้างเพราะจะเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้ครอบครัวไทยมีความสุข
“ในรายงานวิจัยพบว่าครอบครัวที่มีลูกเล็กในวัยปฐมวัย ได้รับผลกระทบเพราะค่าใช้จ่ายของเด็กเล็กสูงขึ้น ทำให้พ่อแม่เครียดซึ่งจะมีผลต่อพัฒนาการเด็ก อย่างไรก็ตามต้นทุนสุขภาพของเด็กเล็กอยู่สถานการณ์ลำบาก ดังนั้นต่อจากนี้ไปพลเมืองเด็กในครอบครัวที่ได้รับผลกระทบจะต้องได้รับการฟื้นฟู” ผู้อำนวยสำนักสนุบสนุนสุขภาพเด็กเยาวชนและครอบครัว สสส.ให้มุมคิด ตัวอย่างของครอบครัวที่ประสบความสำเร็จด้านการสื่อสารและ มีเป้าหมายเดียวกัน อย่างครอบครัวดร.ปังปอนด์ รักอำนวยกิจ อ.วิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เล่าว่าในครอบครัวทั้งพ่อและแม่เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย ลูกชาย2 คนคนโตอายุ13 ปี และ 11 ปี ลูกชายคนเล็กเป็นนักกีฬาเทนนิสทีมเยาวชน ดังนั้นเรื่องยากคือเรื่องเวลา ช่วงเย็นเมื่อทำงานเสร็จต้องพาลูกไปซ้อมเทนนิส ดังนั้นทุกคนในครอบครัวต้องคุยกันให้รู้เรื่องหน้าที่ของแต่ละคน
“ที่บ้านจะมีความอึด มีกฏร่วมกันห้ามพูดว่ายาก ทำไม่เป็น ทำไม่ได้ ทำไม่ไหว ทุกคนต้องมีจุดประสงค์ของตัวเอง โชคดีว่าที่ทำงานมีความเข้าใจเมื่อในช่วงบ่ายไม่มีชม.สอนเราสามารถออกจากที่ทำงานได้ ดังนั้นเราก็ทดแทนให้หน่วยงานกลับมาบ้านจะทำงานจนถึงสี่ทุ่มเที่ยงคืน และตื่นเช้าเพื่อไปทำงาน ขณะที่สามีก็เข้าใจเมื่อต้องไปตจว.เราไม่เคยจัดกระเป๋าให้เพราะรู้ว่าเรามีอะไรต้องทำมากกว่านั้น ซึ่งคำว่าครอบครัวไม่มีโมเดลตายตัว”ตัวแทนของครอบครัว รักอำนวยกิจ บอกเล่า อาจพอจะเป็นแนวทางของให้การสร้างครอบครัวอบอุ่น เข้มแข็งของใครอีกหลายคนที่กำลังเผชิญปัญหาเดิมและปัญหาใหม่ จากวิฤติโควิด-19 ที่ถมทับ
July 12, 2020 at 07:00AM
https://ift.tt/2ZXgOwC
'ครอบครัวไทย'ยังสุขไม่แท้ 'สื่อสาร'ไม่ตรงจุดปมใหญ่ - เดลีนีวส์
https://ift.tt/37dMocA
Bagikan Berita Ini
0 Response to "'ครอบครัวไทย'ยังสุขไม่แท้ 'สื่อสาร'ไม่ตรงจุดปมใหญ่ - เดลีนีวส์"
Post a Comment