การประกวดรางวัล อิก โนเบล ครั้งที่ 30 ประจำปี 2563 ที่มอบผลงานวิจัยนอกกรอบล้อเลียนรางวัลโนเบล ซึ่งปกติจัดที่หอภาพยนตร์แซนเดอร์ส ของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ในเมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเสตต์ ของสหรัฐฯ เมื่อ 17 ก.ย. แต่ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ทั่วโลก ทำให้พิธีมอบปีนี้จัดขึ้นแบบออนไลน์ โดยผลงานการประกวดสาขาเสียง ยกให้ กับการค้นพบของ ดร.สตีเฟน เรเบอร์ และทีมงาน จากมหาวิทยาลัยลุนด์ ในสวีเดน ซึ่งเป็นสถาบันด้านการศึกษาและวิจัยใหญ่ที่สุดในสแกนดิเนเวีย ที่อธิบายถึงผลการทดลองเพื่อพยายามทำความเข้าใจว่าจระเข้อาจมีวิธีการสื่อสารกันอย่างไร โดยจับจระเข้ตัวหนึ่งอยู่ในแท็งก์สูดก๊าซออกซิเจนกับก๊าซฮีเลียม พบการสั่นสะเทือนของเนื้อเสียงไม่เปลี่ยนแปลง แต่เกิดเสียงดังแตกต่างออกไปอันเป็นผลของก๊าซผสมกัน
ส่วนรางวัลอื่น รวมสาขาจิตวิทยาแนะวิธีแยกแยะคนหลงตัวเองด้วยการตรวจดูคิ้วของคนคนนั้น สาขากีฏวิทยา ซึ่งรวบรวมหลักฐานว่านักกีฏวิทยาจำนวนมาก หรือนักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเรื่องแมลง กลัวแมงมุม สาขาฟิสิกส์ หรือกายวิภาคเป็นการสำรวจว่าเกิดอะไรขึ้นกับรูปร่างของหนอนที่ยังมีชีวิตหากถูกสั่นด้วยคลื่นความถี่สูง โดยผู้คว้ารางวัลทุกสาขาจะได้รับเงินรางวัล 10 ล้านล้านดอลลาร์ซิมบับเว ซึ่งเป็นสกุลเงินที่ถูกยกเลิกไปแล้ว.
อ่านเพิ่มเติม...
September 19, 2020 at 08:05AM
https://ift.tt/33Nq8Fs
วิธีจระเข้สื่อสารคว้ารางวัล อิก โนเบล - ไทยรัฐ
https://ift.tt/37dMocA
Bagikan Berita Ini
0 Response to "วิธีจระเข้สื่อสารคว้ารางวัล อิก โนเบล - ไทยรัฐ"
Post a Comment